การกำกับดูแลกิจการ

การกำกับดูแลกิจการ

กลุ่มเอ็กโกตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเอ็กโกมุ่งมั่นธำรงรักษาไว้ซึ่งการกำกับดูแลกิจการที่ดี ผ่านการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียน และหลักเกณฑ์การเป็นบริษัทที่มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ให้แนวทางไว้ ในการนี้ เพื่อเสริมสร้างและปลูกฝังการดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงเป็นแนวปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณทางธุรกิจไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของบริษัท และเว็บไซต์สำหรับสื่อสารภายในบริษัท

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทกำหนดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดยยึดหลัก 6 ประการ คือ P-R-E-A-C-T เพื่อเป็นกรอบในการกำกับดูแลและบริหารงานสำหรับกลุ่มเอ็กโก ดังนี้

 

โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท (คน)

คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบหลักการในการตัดสินใจดำเนินงานที่จะเป็นประโยชน์แก่บริษัท ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อีกทั้ง ยังเป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย งบประมาณในการดำเนินธุรกิจร่วมกับฝ่ายบริหาร รวมถึงติดตามผลการดำเนินงานของฝ่ายบริหารและร่วมพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม

คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน และไม่เกิน 15 คน ตามที่กำหนดในข้อบังคับบริษัท องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการบริษัทเป็นไปตามข้อบังคับบริษัทและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของเอ็กโก ซึ่งไม่มีนโยบายกีดกันทางเพศ และให้ความสำคัญกับความหลากหลายทั้งด้านความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจของบริษัท อีกทั้ง มีการถ่วงดุลอำนาจของกรรมการอย่างเหมาะสม

โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2568) สามารถสรุปได้ ดังนี้

 

 

ตารางองค์ประกอบความรู้ความชำนาญของคณะกรรมการ

ความหลากหลายด้านทักษะและความเชี่ยวชาญ (รายชื่อ ณ วันที่ 1 มกราคม 2568)

 

นิยามกรรมการอิสระและการเปรียบเทียบนิยามตามเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการ

บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (“เอ็กโก”) ได้กำหนดนิยามกรรมการอิสระขึ้นมา โดยให้เข้มงวดกว่าเกณฑ์ของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์”) และประกาศคณะกรรมการตลาดทุนเรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ทั้งนี้ หากนำคุณสมบัติของกรรมการเปรียบเทียบกับนิยามกรรมการอิสระของเอ็กโก นิยามกรรมการอิสระตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตามเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices) จะมีข้อแตกต่างด้านคำนิยามกรรมการอิสระและมีกรรมการที่มีคุณสมบัติความเป็นอิสระตามเกณฑ์กำกับดูแลกิจการ

 

โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ

กลุ่มเอ็กโกกำหนดแนวทางในการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท และกำหนดบทบาท หน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแลการดำเนินงานของฝ่ายบริหารรวมถึงวางแผนกลยุทธ์และนโยบายซึ่งส่งผลต่อทิศทางการดำเนินงานในปัจจุบันและอนาคตขององค์กร เพื่อให้การกำกับดูแลกิจการมีประสิทธิภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล สร้างความไว้วางใจแก่ผู้มีส่วนได้เสีย และความเชื่อมั่นในระบบบริหารงานที่โปร่งใส เป็นธรรม นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทได้จัดตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทในเรื่องต่างๆ ทั้ง 5 คณะ ได้แก่

  1. คณะกรรมการตรวจสอบ
  2. คณะกรรมการกำกับความเสี่ยง
  3. คณะกรรมการลงทุน
  4. คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน
  5. คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน

คณะกรรมการชุดย่อยแต่ละชุดมีกฎบัตรที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ซึ่งระบุองค์ประกอบและคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบและการประชุม อีกทั้ง ยังมีการทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการดังกล่าวความเหมาะสม